Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 175 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจุบันเทรนด์การใช้กระเป๋าผ้าได้รับความนิยมมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะในไทยเท่านั้น แต่กระแสรักษ์โลก ทำให้คนหันมาใช้กระเป๋าผ้ากันเยอะมาก โดยเฉพาะ “กระเป๋าผ้าดิบ” และ “กระเป๋าผ้าแคนวาส” สกรีนลวดลายต่าง ๆ ซึ่งการสกรีนกระเป๋าผ้าให้ออกมาดูดีสีสวยคมชัดได้นั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้สกรีนกระเป๋าด้วย
บทความนี้ GoodThinkDesign จะพาทุกคนไปรู้จัก “เทคนิคการสกรีนกระเป๋าผ้า” ให้ออกมาสีสวย ตรงใจ ใช้งานได้จริง พร้อมบอก 4 สิ่งที่ต้องพิจารณา ก่อนตัดสินใจเลือกเทคนิคสกรีนกระเป๋าผ้า จะมีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลย!
ถ้าพูดถึงประโยชน์ของกระเป๋าผ้าหรือถุงผ้า คงต้องบอกว่ามีเยอะมาก ๆ เพราะนอกจากจะใช้ใส่ของ สะพายเป็นแฟชั่น หรือพกไปช้อปปิ้งเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกได้แล้ว เรายังสามารถสั่งสกรีนลวดลายสวย ๆ ลงบนกระเป๋าผ้า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็น ของขวัญ ของชำร่วย สินค้าพรีเมียม ของแจกลูกค้า เพื่อโฆษณาแบรนด์และทำโปรโมชันส่งเสริมการขายได้ด้วย
นอกจากนี้ เรายังสามารถออกแบบลวดลายเก๋ ๆ สั่งให้ร้านรับสกรีนกระเป๋าผ้า ผลิตเป็นสินค้าออกมาขายได้ด้วย ถือเป็นไอเดียทำธุรกิจที่น่าสนใจมาก ๆ เป็นวิธีเปลี่ยนจากกระเป๋าผ้าธรรมดา ๆ ให้เป็นสินค้าขายดี จนกลายเป็นไอเทมปั้นแบรนด์ได้ ซึ่งเคสนี้เกิดขึ้นจริงในไทย พูดชื่อไปเชื่อว่าใคร ๆ ก็รู้จักแน่นอน นั่นก็คือ กระเป๋าผ้า GENTLEWOMAN กระเป๋าผ้าแบรนด์ไทยที่ฮิตสุด ๆ จนทำยอดขายทะลุหลายร้อยล้านมาแล้ว!
กระเป๋าผ้า หรือ ถุงผ้า จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละทรงเหมาะกับการใช้งานและสไตล์ที่แตกต่างกัน ทรงกระเป๋าผ้าที่คนนิยมใช้จะมี 4 แบบ
เทคนิคสกรีนกระเป๋าผ้า มีหลายแบบ แต่ละแบบจะเหมาะกับเนื้องานไม่เหมือนกัน วันนี้เรามีเทคนิคสกรีนกระเป๋าผ้าที่คนนิยมใช้ มาแนะนำ 2 แบบ คือ
เทคนิคสกรีนกระเป๋าผ้าแบบซิลค์สกรีน เป็นวิธีพิมพ์ลายลงบนเนื้อผ้าโดยใช้บล็อกสกรีน จะใช้บล็อกสกรีนแยกสี ทีละสี และใช้การปาดสีโดยฝีมือช่างสกรีน เป็นวิธีที่นิยมใช้สำหรับงานสกรีนกระเป๋าผ้าที่มีลายง่าย ๆ ใช้สีไม่เยอะ ประมาณ 1-5 สี และเหมาะกับงานสั่งสกรีนจำนวนมาก ที่ต้องการประหยัดต้นทุน
เทคนิคสกรีนกระเป๋าผ้าแบบซับลิเมชั่น ใช้เครื่องพิมพ์งานสกรีนระบบดิจิทัล เป็นวิธีพิมพ์ลายบนกระเป๋าผ้าด้วยความร้อน โดยใช้หมึกซับลิเมชั่น พิมพ์ลายลงบนกระดาษซับลิเมชั่นก่อน จากนั้นนำกระดาษซับลิเมชั่นไปวางทับบนผ้าที่ต้องการพิมพ์ลาย แล้วรีดด้วยความร้อนสูง แรงกด และระยะเวลาที่เหมาะสม เทคนิคนี้เหมาะกับงานที่มีลายเยอะ ๆ ลายที่มีสีสันสดใส รายละเอียดซับซ้อน อย่างเช่น รูปภาพถ่าย หรืองานที่มีการไล่เฉดสี เหมาะกับงานผลิตจำนวนน้อยถึงปานกลาง
แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อผ้า เหมาะกับกระเป๋าผ้าโพลีเอสเตอร์ 100% หรือผ้าที่มีโพลีเอสเตอร์ผสมอยู่ 70% ขึ้นไป ไม่เหมาะกับผ้าใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน เพราะใยธรรมชาติมีรูพรุนขนาดใหญ่ หมึกซับลิเมชั่นอาจซึมลงไปใต้ผิวผ้า ทำให้ลายไม่คมชัด
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่า จะสั่งสกรีนกระเป๋าผ้าด้วยเทคนิคอะไรดี 4 เรื่องต่อไปนี้ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแน่นอน
ลายง่าย สีน้อย เหมาะกับการสกรีนแบบซิลค์สกรีน ลายที่มีสีสันหลากหลาย หรือมีรายละเอียดซับซ้อน เหมาะกับการสกรีนแบบดิจิทัล เช่น ซับลิเมชั่น
ถ้าต้องการสั่งสกรีนกระเป๋าผ้าจำนวนมาก เทคนิคสกรีนแบบซิลค์สกรีนจะเหมาะกว่า แต่ถ้าสั่งสกรีนจำนวนน้อย หรือปานกลาง ก็เหมาะกับการสกรีนแบบดิจิทัล
การสกรีนแบบซิลค์สกรีนมีต้นทุนการเตรียมงานค่อนข้างสูง แต่ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกลงเมื่อสกรีนจำนวนมาก การสกรีนแบบดิจิทัล มีต้นทุนการเตรียมงานค่อนข้างต่ำ แต่ต้นทุนต่อหน่วยจะสูงกว่าการสกรีนแบบซิลค์สกรีน
ผ้าบางชนิดไม่เหมาะกับเทคนิคการสกรีนบางประเภท เช่น ผ้าไนลอน ไม่เหมาะกับการสกรีนแบบซิลค์สกรีน หรือ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ไม่เหมาะกับวิธีสกรีนแบบซับลิเมชั่น
กระเป๋าผ้าสกรีน เป็นของใช้ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะใช้งานได้จริง พกพาง่าย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ดีไซน์ได้หลากหลาย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกเทคนิคสกีนกระเป๋าให้เหมาะสมกับงานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ และจำเป็นต้องรู้ เพราะนอกจากจะทำให้ได้กระเป๋าผ้าสกรีนที่สวยตรงใจแล้ว ยังจะช่วยประหยัดต้นทุนของธุรกิจได้ด้วย
GoodThinkDesign ร้านสกรีนกระเป๋าผ้า ไม่มี ขั้นต่ำ งานสกรีนคุณภาพสูง ราคาถูก รับสกรีนกระเป๋าผ้า สกรีนถุงผ้า กระเป๋าผ้าสกรีนโลโก้ กระเป๋าผ้าสกรีนชื่อ กระเป๋าผ้าสกรีนรูป กระเป๋าผ้าสกรีนข้อความ กระเป๋าผ้าสกรีนลาย ใช้เครื่องสกรีนทันสมัย ทีมช่างมืออาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ การันตีฝีมือคุณภาพด้วยลูกค้าชั้นนำในไทย
สนใจสั่งสกรีนกระเป๋าผ้า ราคาถูก คุณภาพดี ไม่มีขั้นต่ำ ติดต่อเราได้ที่ GoodThinkDesign
เครดิตรูปภาพจาก
- Image by rawpixel.com on Freepik
- Image by freepik
- Image by Vectonauta on Freepik
- Image by Vectonauta on Freepik
- Image by rawpixel.com on Freepik
- Image by valentinlacoste on Freepik
- Image by nuraghies on Freepik
- Image by Vectonauta on Freepik
29 พ.ค. 2567